พระชัยวัฒน์เจตคุปต์ เพ็ชรกลับ (หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด พระชัยวัฒน์แห่งอิสานใต้)

พระชัยวัฒน์เจตคุปต์ เพ็ชรกลับ (หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด พระชัยวัฒน์แห่งอิสานใต้)

      พระชัยวัฒน์เจตคุปต์ เพ็ชรกลับ (หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด พระชัยวัฒน์แห่งอิสานใต้)พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์ ( หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด ) แนวความคิดในการจัดสร้าง นับตั้งแต่เรือนจำกลางอุดรธานี ได้ก่อตั้งขึ้นจนมีอายุถึง 85 ปี ยังไม่ปรากฏว่าเรือนจำฯเคยจัดสร้างวัตถุมงคลใด ๆ แม้แต่ครั้งเดียว ปี พ.ศ.2550 นายวุฒิชัย เจนวิริยะกุล ผู้บัญชาการเรือนในขณะนั้น ได้มีนโยบายที่จะพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง ที่ใกล้ปล่อยพ้นโทษ ให้ได้รับการอบรมธรรมมะ ปฏิบัติธรรม แบบเข้มข้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ผู้ต้องขังรู้และเข้าใจถึงบาปบุญคุณโทษ กฏแห่งกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อสนองตอบโครงการดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีสถานที่ใช้ในการปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะ ผู้บัญชาการเรือนจำจึงได้มีแนวคิดจัดสร้างพระเครื่องขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเช่าบูชา นำรายได้ทั้งหมดมาจัดสร้างศาลาปฏิบัติธรรม พระกริ่งที่ดีทั้งนอกและใน…..จัดสร้างอย่างไร ทางเรือนจำได้พิจารณาแล้ว จะดำเนินการจัดสร้างพระเครื่องขึ้นได้แก่ พระกริ่ง พระเนื้อผง แต่ด้วยปัญหาทางเรือนจำยังขาดความรู้ความสามารถ ขาดประสบการณ์ในการดำเนินการจัดสร้าง คณะกรรมการได้ประชุมปรึกษาหารือกันได้ข้อสรุปว่า ควรหาบุคคลที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ และประการสำคัญต้องเป็นคนดีของสังคม มาช่วยให้คำปรึกษาแนะนำการจัดสร้างพระเครื่องดังกล่าว ปรากฏว่าท่านอาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ ผู้เป็นตำนานในการจัดสร้างพระกริ่งของหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ ที่โด่งดังเป็นที่ยอมรับกันทั่วประเทศ เป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุด เพรียบพร้อมด้วยประการทั้งปวง เรือนจำกลางอุดรธานี จึงได้เรียนเชิญท่านมาเป็นที่ปรึกษากิติมาศักดิ์ ในการจัดสร้างพระเครื่องดังกล่าว ซึ่งก็ได้รับความกรุณาจากท่านอาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ เป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาส นี้ สู่พุทธศิลป์ที่ทรงคุณค่า ต่อมาสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณา นั่นคือ ” เรือนจำจะสร้างพระกริ่งที่มีรูปลักษณะอย่างไร ” เรือนจำได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ ว่าควรจัดสร้างเป็นพิมพ์ *เพ็ชรกลับ* ซึ่งความเห็นดังกล่าวเรือนจำเห็นชอบด้วย ตรงตามในความหมายจากเรื่องร้ายกลับกลายเป็นเรื่องดี จากเรื่องที่ดีให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป อันสอดคล้องกับภาระกิจของทางเรือนจำที่จะพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังให้เปลี่ยนแปลงเมื่อปล่อยพ้นโทษ ปฏิบัติตนเป็นคนดีต่อสังคม ทางเรือนจำจึงได้ขออนุญาตท่านอาจารย์ชินพร ฯ นำต้นแบบพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ นำมาประยุกต์ให้เป็นแบบเพ็ชรกลับ โดยใช้ชื่อว่า ” พระกริ่งเจตคุปต์ เพ็ชรกลับ ” ผู้ปลุกเสก…..เหตุใดต้องเจาะจง ” พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์ ( หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด )” สืบเนื่องจากเมื่อคณะกรรมการได้ประชุมกัน เสนอให้ไปกราบเรียนขออนุญาตหลวงปู่ผาด จัดสร้างพระเครื่อง และปลุกเสกพระเครื่อง โดยมีเหตุผลดังนี้ 1. คณะกรรมการได้นำภาพถ่ายที่ไฟใหม้ มาโชว์ในที่ประชุม คณะกรรมการทุกท่านได้ประจักษ์ด้วยสายตาว่า ภาพกรอบรูปวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นชนวนไฟอย่างดี แต่เหตุใดภาพถ่ายหลวงปู่ผาด กลับไม่ดิดไฟ ไฟไม่อาจทำลายภาพของหลวงปู่ได้ แม้ด้านหลังภาพไม้จะปรากฏเป็นเถ้าถ่านไปแล้วก็ตาม คณะกรรมการเชื่อได้อย่างสนิทใจว่าด้วยบารมีหลวงปู่ผาดที่ได้ปลุกเสกพระเครื่องย่อมเข้มขลังด้วยพลังพุทธคุณอย่างแน่นอน 2. ประการสำคัญ หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ถือสันโดษ สมถะ สงบ เยือกเย็น ไม่ยึดติดชื่อเสียงลาภยศ กับการสะสมบารมี 76 พรรษาที่ผ่านมา หลวงปู่ผาดท่านไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อย ท่านครองตนอยู่ในสมนะเพศที่บริสุทธิ์เสมอมา ท่านให้ความเมตตากับทุกคนโดยไม่เลื่อกชั้นวรรณะ นี่คือพระสงฆ์ที่ควรยกย่องกราบไหว้บูชา ได้อย่างสนิทใจเลือกวิธีที่ดีที่สุด……เทหล่อดินไทยแบบโบราณ ท่านผู้บัญชาการท่านเน้นย้ำเสมอว่าต้องจัดสร้างพระกริ่งให้ดีที่สุด เพื่อให้ผู้สั่งจองพึงพอใจ เรือนจำจึงได้ปรึกษาหารือกับท่านอาจารย์ชินพรฯ บทสรุปการจัดสร้างจึงเลือกใช้ กรรมวิธีการเทหล่อแบบดินไทยโบราณ ถึงแม้ว่าต้นทุนการจัดสร้างจะสูงกว่าการหล่อปกติหลายเท่าตัวก็ตาม แต่เพื่อให้พระกริ่งได้จัดสร้างตามกรรมวิธีแบบโบราณ ให้มีพุทธลักษณะดีทั้งนอก พุทธานุภาพดีทั้งใน กราบขออนุญาตหลวงปู่ผาด…เพื่อสร้างตำนาน ท่านผู้บัญชาการเรือนจำและคณะได้เดินทางสู่อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อขออนุญาตหลวงปู่ผาดอย่างเป็นทางการ ซึ่งก่อนหน้านั้นทางเรือนจำได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปกราบเรียนหารือกับหลวงปู่ผาด เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ผาดท่านได้อนุญาตให้จัดสร้างพระเครื่องดังกล่าวได้ โดยทางเรือนจำขออนุญาตหลวงปู่เปิดสั่งจองพระเครื่องดังกล่าวที่วัดบ้านกรวด ด้วย ต่อมาเรือนจำได้จัดทำแผ่นป้ายเปิดสั่งจองติดที่วัด หลวงปู่ผาดท่านให้ความเมตตาเป็นอย่างมาก หลวงปู่ได้ชี้ให้เจ้าหน้าที่ติดป้ายสั่งด้วยตัวท่านเอง นับเป็นความเมตตาอย่างสูง ชนวนที่ทรงคุณค่า สืบสานชนวนหลวงปู่ผาด และชนวนสายพระกริ่งชินบัญชร ท่านอาจารย์ชินพรฯ ได้ให้คำแนะนำกับทางเรือนจำว่า การจัดสร้างพระกริ่งจำเป็นต้องจัดทำ ยันต์ 108 ยันต์ นะ 14 ตัว เพื่อนำมาหล่อหลอมในองค์พระตามตำราของท่านสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว ซึ่งทางเรือนจำได้ดำเนินการตามที่ท่านอาจารย์ชินพรฯ แนะนำมาทุกประการ พร้อมทั้งยังได้เพิ่ม แผ่นพระคาถาชินบัญชร แผ่นใหญ่ขึ้นอีก 1 แผ่น ประการสำคัญได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ผาด จารแผ่นเงินขนาดใหญ่ เพื่อใช้เป็นชนวนในการหล่อพระกริ่ง โดยชนวนต่าง ๆ พอสังเขปมีดังนี้ แผ่นยันต์ 108 นะ 14, แผ่นคาถาชินบัญชร, แผ่นเงินหลวงปู่ผาดจาร, แผ่นขอพรของผู้สั่งจอง, แผ่นยันต์พระอาจารย์ฝั่น อาจาโร, แผ่นยันต์หลวงปู่ทองมา ถาวโร, รูปหล่อบูชารุ่น 1 และรุ่น 2 ของหลวงปู่ผาด หลายองค์, เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ผาดที่ไหม้ไฟหลายเหรียญ, เหรียญคณาจารย์ต่าง ๆ ทั่วประเทศอีกกว่า 200 เหรียญ ก่อนทำการหล่อได้ทำพิธีตั้งขันธ์ห้าขอขมาแจ้งเจตนาเพื่อใช้เหรียญคณาจารย์ต่าง ๆ นำมาเป็นชนวน หวังเพื่อให้เกิดพลังพุทธคุณเข้มขลังมากยิ่งขึ้น, และชนวนที่เหลือจากการหล่อพระกริ่งบรมครู 32 ของมูลนิธิหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ โดยช่างที่ทำการหล่อพระกริ่ง เป็นช่างชุดเดียวกับที่หล่อพระกริ่งบรมครู พร้อมยังมีชนวนจากการหล่อพระเครื่องต่างๆ อีกหลายวัดนำมาเป็นชนวน พระกริ่งจัดสร้างจำนวนจำกัด ค่อนข้างน้อย ดังนั้นโลหะที่นำมาจัดสร้างถือได้ว่าโดยส่วนมากเป็นเนื้อชนวนล้วน ๆ 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน ต่างรับรู้ การจัดสร้างพระกริ่ง ตามคำแนะนำของท่านอาจารย์ชินพรฯ จำเป็นอย่างยิ่งต้องจัดทำพิธีบวงสรวงบอกกล่าวทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าพ่อเจตคุปต์ 1 ใน 6 เทพ ที่ปกปักษ์รักษาแผ่นดินไทย โดยประดิษฐานอยู่ที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ท่านอาจารย์ชินพร ได้จัดหาฤกษ์ยาม ในวันประกอบพิธีบวงสรวงขึ้น โดยได้วันที่ 26 มกราคม 2550 จัดได้ประกอบพิธีบวงสรวงขึ้นภายในเรือนจำกลางอุดรธานี นับเป็นครั้งแรกในรอบ 85 ปี ของการจัดตั้งเรือนจำกลางจังหวัดอุดรธานี พิถีพิถัน…..ปลุกเสกชนวน มวลสารก่อนเทหล่อ ในวันที่ 25 มกราคม 2550 เวลา 06.30 น. หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด ได้เมตตาปลุกเสกชนวนโลหะ และมวลสาร ว่าน 108 ก่อนที่จะนำมาเทหล่อนำฤกษ์ ในวันที่ 26 มกราคม 2550 ที่โรงงานหล่อ โดยทางเรือนจำกลางอุดรธานี ได้ดำเนินการประกอบพิธีบวงสรวง และขณะเดียวกันทางโรงงานก็ประกอบพิธีบวงสรวงบอกกล่าวเทวดาอารักษ์ ทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน ในเวลาที่พร้อม ๆ กัน ท่านอาจารย์ชินพรฯ เป็นผู้บอกกล่าวหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ บอกกล่าวหลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด ให้การเทหล่อพระกริ่งสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ถึงฤกษ์กำหนดเวลา 09.19 น. ได้ดำเนินการเทหล่อพระกริ่งนำฤกษ์ก่อน 1 องค์ (ทองคำ) และอีก 2 ช่อ เนื้อนวะโลหะ ฤกษ์เทหล่อที่สำคัญ…..พระจันทร์เต็มดวง ท่านอาจารย์ชินพรฯ ได้แนะนำการเทหล่อพระกริ่งว่า ควรเทหล่อในวันที่พระจันทร์เต็มดวงเปร่งรัศมีสูงสุด ตามตำราโบราณเพื่อที่จะได้มีพระกริ่งที่มีพุทธานุภาพสูงสุดตามมา ปรากฎว่าวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม 2550 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวง ตรงกับวันมาฆะบูชา ถือได้ว่าเป็นฤกษ์เทหล่อพระกริ่งที่เหมาะสมที่สุด เป็นเรื่องที่ประจวบเหมาะวันที่ 3 เลข 3 เป็นเลขวันเกิดของหลวงปู่ผาด เพราะหลวงปู่เกิดวันที่ 3 พฤศจิกายน ประกอบกับในวันที่ 3 มีนาคม 2550 ช่วงกลางคืนมีปรากฏการจันทรุปราคา ซึ่งในปี 2550 ถือว่าเป็นปีราหู จึงเป็นนิมิตหมายอันดี เรือนจำจึงได้เทหล่อพระกริ่งทั้งหมดตามกำหนดวันดังกล่าวในเวลา 09.19 น. พิธีกรรมปลุกเสกเดี่ยวอย่างมั่นใจ ไม่ต้องให้ใครมาช่วยเดี่ยว พระกริ่งที่จัดสร้างขึ้นทั้งหมด มีเนื้อนวโลหะ เนื้อสำริดกลับดำ พระนาคปรกญาณบารมี พระผงบารมีเจ้าพ่อเจตคุปต์ ทั้งหมดได้นำให้หลวงปู่ผาดเมตตาปลุกเสก 3 วาระ ดังนี้ วาระที่ 1 วันที่ 6 เมษายน 2550 เวลา 06.30 น. หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด เมตตาปลุกเสกนำฤกษ์ ณ ภายในกุฏิหลวงปู่ โดยถือเคล็ดว่าเมื่อพระกริ่งเจตคุปต์ เป็นวัตถุมงคลของหลวงปู่ผาดที่อนุญาตให้จัดสร้าง สมควรอย่างยิ่งที่ให้หลวงปู่ผาดปลุกเสกนำฤกษ์ก่อน ทั้งนี้ท่านอาจารย์ชินพรฯ เคยพูดไว้ว่า “พระกริ่งโดยทั่วไป เกจิปลุกเสกเดี่ยวมักจะโด่งดัง” ขณะที่หลวงปู่ผาดกำลังจะปลุกเสก ทางเจ้าหน้าที่เรือนจำได้เข้าไปกราบเรียนท่านว่า “หลวงปู่ครับ ปลุกเสกแบบเพ็ชรกลับนะครับ จากเรื่องร้ายให้กลับกลายเป็นเรื่องดี” นะครับ ซึ่งปกติหลวงปู่ผาดท่านเป็นพระสงฆ์ที่พูดน้อยมาก ขณะนั้นหลวงปู่ผาดได้หันกลับมาตอบกับเจ้าหน้าที่ว่า ” เสกได้หมดละ ” คำพูดที่เปร่งออกจากปากหลวงปู่ ผู้อยู่ในศิลจรรยาวัตรที่บริสุทธิ์เสกได้หมดแหละจะเป็นตำนานที่ต้องเล่าขานต่อกัน เสมือนเป็นเครื่องการันตี พุทธคุณของพระกริ่งเจตคุปต์ เพ็ชรกลับ อย่างชัดเจน เป็นที่สุดเหนือคำบรรยาย วาระที่ 2 วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2550 เป็นวันฉลองโบสถ์วัดบ้านกรวด จึงได้นำพระเครื่องทั้งหมดเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ปรากฏมีคณาจารย์สายอีสานใต้หลายรูป เช่น หลวงปู่หงษ์ หลวงปู่คี เป็นต้น วาระที่ 3 วันที่ 9 เมษายน 2550 หลวงปู่ผาดได้รับกิจนิมนต์ไปปลุกเสกจตุคามรามเทพ บนวิหารเขาพนมรุ้ง จัดทำพิธีโดยมูลนิธิสิรินธร คณะผู้จัดสร้างพระกริ่ง จึงได้นำพระเครื่องทั้งหมดเข้าร่วมพิธีบนเขาพนมรุ้ง แต่นำวัตถุมงคลเข้าร่วมพิธีในวิหารหลังเล็ก มีลักษณะเป็นวิหารมหาอุต ด้วยความเชื่อของโบราณว่า บนเขาพนมรุ้ง เป็นศูนย์รวมแห่งพลังจักรวาล พิธีการเริ่มตั้งแต่ 13.00 น. ถึงเวลา 18.00 น. หลวงปู่ผาดได้ออกจากวิหารหลังใหญ่ แล้วเดินมาที่วิหารหลังเล็กประพรมน้ำมนต์ที่พระเครื่องของทางเรือนจำนำเข้าพิธีอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ประชาชนทั่วไปจะขอให้หลวงปู่ผาดประพรมน้ำมนต์ให้อย่างล้นหลาม จำนวนการจัดสร้าง 1. พระกริ่งเนื้อนวโลหะ ก้นพระยมทรงสิงห์ จัดสร้างจำนวน 888 องค์ (เนื้อทองคำ 1 องค์) 2. เนื้อเงิน ก้นพระยมทรงสิงห์จัดสร้างจำนวน28 องค์ (ไม่ได้ใช้วิธีเทหล่อโบราณ แต่นำเนื้อชนวนผสมด้วย) 3 . พระกริ่งเนื้อสำริดกลับดำจัดสร้างจำนวน400 องค์ แบ่งเป็นก้นตันแช่น้ำมนต์ 200 องค์ ก้นอุดว่าน108 ผสมผงพรายกุมาร 200 องค์ (เนื้อสำริดกลับดำขออนุญาติผู้บัญชาการเรือนจำ จัดสร้างเป็นกรณีพิเศษ) 4. พระชัยวัฒน์ เนื้อนวะก้นอุดผงว่าน 108 ผสมผงพรายกุมาร จัดสร้างจำนวน 600 องค์ 5. พระชัยวัฒน์ เนื้อทองแดงก้นอุดผงฯ จัดสร้างจำนวน 200 องค์ 6. พระผงนาคปรกญาณบารมี ผสมผงพรายกุมาร และตะไบรูปหล่อบูชารุ่นแรก จัดสร้างจำนวน 1,599 องค์ 7. พระผงบารมีเจ้าพ่อเจตคุปต์ ผสมผงฯ จัดสร้างจำนวน 1,599 องค์(เฉพาะเนื้อสีดำ 100 องค์)